Last updated: 11 เม.ย 2567 | 204 จำนวนผู้เข้าชม |
PM 2.5 คืออะไร ?
คำว่า PM ย่อมาจาก particulate matter ซึ่งเป็นหน่วยวัดขนาดของอนุภาคที่อยู่ในอากาศ PM 2.5 ก็คืออนุภาคของฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน เป็นฝุ่นละเอียด มีลักษณะเป็นเขม่าควัน หรือไอเสียจากการเผาเชื้อเพลิงต่างๆ ด้วยขนาดที่เล็กของ PM 2.5 ทำให้ฝุ่นละอองชนิดนี้สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจได้มากกว่าฝุ่นทั่วไป กระแสเลือด และแทรกซึมสู่กระบวนการทำงานในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น มะเร็งปอด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดในสมอง ติดเชื้อเฉียบพลันในระบบหายใจส่วนล่าง โรคผิวหนัง ภูมิแพ้ ไซนัส เป็นต้น หากคนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น ความดัน ไขมัน เบาหวาน โรคหัวใจ เส้นเลือดในสมอง สัมผัสกับฝุ่นควัน PM2.5 เพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมง จะกระตุ้นให้เกิดอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หัวใจวาย เส้นเลือดในสมองตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจถึงเสียชีวิตได้
PM 2.5 มาจากไหน?
PM 2.5 ทำร้ายผิวยังไง ?
PM 2.5 สามารถกระตุ้นหืดหอบ มีอาการกำเริบ และในระยะยาวจะส่งผลให้ปอดเสื่อมประสิทธิภาพ จนอาจก่อให้เกิดโรคถุงลมโป่งพองและมะเร็งปอด รวมถึงสามารถส่งผลต่อระบบหัวใจ และหลอดเลือดได้อีกด้วย มีงานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าฝุ่นละอองสามารถแทรกซึมเข้าไปทางผิวหนัง และก่อให้เกิดการระคายเคืองได้
ผลกระทบเฉียบพลัน
ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่า ฝุ่นละออง PM 2.5 สามารถทำลายเซลล์ผิวหนังกำพร้าของมนุษย์โดยตรง ทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนังที่มากขึ้นได้ มีงานวิจัยจากประเทศเนเธอร์แลนด์ พบว่า ฝุ่นมลพิษ PM 2.5 เพียงแค่ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ก็สามารถกระตุ้นการอักเสบของผิวหนังได้แล้ว ซึ่งฝุ่นละอองนี้จะทำให้การทำงานของเซลล์ผิวหนังผิดปกติไป ทั้งในด้านกลไกการป้องกันของผิวหนังจากสิ่งแวดล้อมภายนอก และการซ่อมแซมผิวหนัง
PM 2.5 จะทำลายโปรตีนที่ผิวหนัง (Filaggrin) ซึ่งมีหน้าที่เป็นโปรตีนที่ช่วยป้องกันผิวหนัง และเพิ่มการหลั่งสารกระตุ้นการอักเสบที่ผิวหนัง ดังนั้นเมื่อผิวหนังสัมผัสกับฝุ่นละออง PM 2.5 ก็จะเกิดการอักเสบ ระคายเคืองที่ผิวหนังได้
เมื่อจับตัวกับสารเคมีและโลหะต่าง ๆ และนำพาเข้าสู่ผิวหนัง มีผลทำร้ายเซลล์ผิวหนัง และกระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบของเซลล์ผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นคันที่ผิวหนัง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีโรคผิวหนังเดิมอยู่แล้ว เช่น โรคภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นผิวหนังอักเสบ สะเก็ดเงิน สิว ผมร่วง จะทำให้มีการระคางเคือง คันมากขึ้น ผื่นกำเริบมากขึ้นได้
ผลกระทบเรื้อรัง
ฝุ่นมลพิษ PM 2.5 จะกระตุ้นการทำลายคอลลาเจนในชั้นผิว กระตุ้นการเกิดริ้วรอย จุดด่างดำ และทำให้ภูมิต้านทานผิวอ่อนแอลง มีงานวิจัยพบว่า ฝุ่นมลพิษ PM 2.5 ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระที่สามารถส่งผลร้ายต่อเซลล์ผิวหนังมนุษย์ ทั้งในกระบวนการสร้างเซลล์ ซึ่งส่งผลต่อภาวะความชราของผิวหนัง รวมถึงจุดด่างดำบนชั้นผิวหนังด้วย โดยพบว่ามีการเกิดจุดด่างดำบริเวณใบหน้าเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังมีการเกิดริ้วรอยบริเวณร่องแก้มมากขึ้นด้วย อีกทั้งยังพบการลดลงของการทำงานในระบบภูมิคุ้มกันที่ผิวหนังด้วยเช่นกัน
การดูแลผิวท่ามกลางวิกฤติฝุ่น PM 2.5
กำจัดฝุ่นละอองที่ตกค้างบนผิวหนัง โดยทำความสะอาดผิวหน้าแบบ Double Cleansing (Cleansing Oil + Cleansing Foam/Gel) ที่เหมาะกับสภาพผิว
ทาครีมที่มีส่วนผสมของ Moisturizer ให้ความชุ่มชื้น เสริมเกราะป้องกันผิว (Skin Barrier) ผิวแข็งแรงมากขึ้น สามารถช่วยป้องกันผิวจากมลภาวะจากฝุ่นได้
เลือกครีมกันแดดที่ป้องกันได้ทั้ง UVA, UVB, Visible- Light และ Infrared เพื่อป้องกันการเกิดริ้วรอย ฝ้า กระ จุดด่างดำ ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งผิวหนังได้อีกด้วย
19 ม.ค. 2567